วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ความหมายของโลโก้กองทุนหมู่บ้าน บ้านกลางหมื่น หมู่ที 1


ระเบียบข้อบังคับ กองทุนหมู่บ้าน บ้านกลางหมื่น หมู่ที่ ๑ ตำบลกลางหมื่น อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๕๕๘


 


ระเบียบข้อบังคับ

กองทุนหมู่บ้าน บ้านกลางหมื่น หมู่ที่ ๑  ตำบลกลางหมื่น  อำเภอเมือง

จังหวัดกาฬสินธุ์   พ.ศ.  ๒๕๕๘





          เพื่อให้การดำเนินการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านสอดคล้องตามหลักการเหตุผล  และสาระสำคัญของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ  พ.. 254๘ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
          อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ  พ.. 254๘  มาตรา 9 (2)  และระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ  ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ  พ.ศ. 2551 และฉบับที่ ....๒-๗....  พ.ศ.๒๕๕๘ ข้อ 21 (2)  จึงออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารกองทุนหมู่บ้านดังนี้


หมวดที่ 1
ข้อมูลทั่วไป
ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า  “ระเบียบกองทุนหมู่บ้าน.....บ้านกลางหมื่น..... หมู่ที่..๑.... ตำบล.....กลางหมื่น..... อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ.๒๕๕๘  โดยมีที่ตั้งกองทุนหมู่บ้าน...บ้านกลางหมื่น....  หมู่ที่ ...๑.. ตำบล.....กลางหมื่น.... อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศให้สมาชิกทราบโดยทั่วกันแล้วให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านรักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ 2.  ให้ยกเลิกระเบียบกองทุนหมู่บ้าน....บ้านกลางหมื่น....  หมู่ที่ ...๑.. ตำบล.....กลางหมื่น.... อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกาศ  เมื่อวันที่ ๑ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๘ และกำหนดให้ทรัพย์สินและหนี้สินกองทุนหมู่บ้าน  เป็นทรัพย์สินและหนี้สินกองทุนหมู่บ้านตามระเบียบนี้ต่อไป
ข้อ 3.  ข้อความในระเบียบนี้
          “คณะกรรมการ  หมายถึง คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
          กรรมการกองทุน  หมายถึง  กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหรือกรรมการในคณะกรรมการกองทุนบ้านกลางหมื่น
          ที่ปรึกษา  หมายถึง  บุคคลที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ หรือมีบทบาทเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการกองทุน
          ธนาคาร  หมายถึง  ธนาคารที่กำหนดให้ใช้บริการในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน
          “ครัวเรือน  หมายถึง  ครอบครัวตามทะเบียนบ้านอันประกอบด้วย  บิดา  มารดา  สามี  ภรรยา  บุตร  ญาติพี่น้อง  อยู่รวมกัน
          หัวหน้าครัวเรือน  หมายถึง  ผู้มีชื่อเป็นเจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน
หุ้น  หมายถึง  การออม ในรูปแบบหนึ่ง  โดยมูลค่าของหุ้นให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับกองทุนหมู่บ้าน / บ้านกลางหมื่น ตำบลกลางหมื่น อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ กำหนด
          เงินฝากสัจจะ  หมายถึง  เงินที่สมาชิกตกลงที่จะฝากหรือออมไว้กับกองทุนหมู่บ้านโดยให้ถือว่าเงินออมเป็นเงินสะสม  ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับกองทุนหมู่บ้านกำหนดโดยให้เก็บเงินสัจจะตอนจ่ายเงินปันผลปีละ  ๑๒๐ บาท/คน
          เงินรับฝาก  หมายถึง  เงินรับฝากประเภทต่างๆ  นอกเหนือจากเงินออมตามที่กองทุนหมู่บ้านกำหนด
          ที่ประชุมสมาชิก  หมายถึง  ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีหรือที่ประชุมใหญ่วิสามัญ
          บัญชีกองทุนหมู่บ้าน  หมายถึง  บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ภายใต้ชื่อกองทุนหมู่บ้าน บัญชีที่  1  ซึ่งกองทุนเปิดไว้รองรับเงินจัดสรรจากรัฐบาลชื่อบัญชีกองทุนหมู่บ้านบ้าน.....บ้านกลางหมื่น....  หมู่ที่ ...๑.. ตำบล.....กลางหมื่น.... อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เลขที่บัญชี .....๐๑๐๓๒๒๑๔๕๗๒๐.......

          บัญชีเงินสะสม”  หมายถึง  บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ภายใต้ชื่อกองทุนหมู่บ้าน / ชุมชน.......-........หรือบัญชีที่ 2  ซึ่งกองทุนเปิดไว้รองรับเงินฝากสะสมประเภทอื่น  นอกเหนือจากเงินที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล
          บัญชีเงินอุดหนุน ”  หมายถึง  บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ภายใต้ชื่อกองทุนหมู่บ้าน/ชุมชน........-........  หรือ บัญชี4  ซึ่งกองทุนหมู่บ้านเปิดไว้รองรับเงินอุดหนุน  หรือเงินบริจาค


หมวดที่ 2
กองทุนและสมาชิกของกองทุน

ข้อ 4.  วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน
1.เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ  สร้างงาน  สร้างรายได้เพิ่มรายได้  และลดรายจ่าย  หรือสำหรับการส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ  สวัสดิการหรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นใดให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน  หรือชุมชน
          2. เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้าน  หรือชุมชนเมือง
          3. รับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่น  เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์
          4. ให้กู้ยืมเงินแก่กองทุนหมู่บ้านอื่น  เพื่อประโยชน์ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจของหมู่บ้าน  หรือชุมชนเมือง

          5. กระทำการใดๆ  เพื่อพัฒนาองค์ความรู้  คุณภาพชีวิต  สวัสดิภาพ  และสวัสดิการของสมาชิก  หรือประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง  รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจของกองทุนหมู่บ้านตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดไว้
ข้อ 5. คณะกรรมการกองทุนฯ ประกอบด้วยกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 9 คน แต่ไม่เกิน 15  คน             โดยสมาชิกคัดเลือกกันเอง  และเป็นที่ยอมรับของประชาชนในหมู่บ้าน  ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม  จำนวนกรรมการชายและหญิงในสัดส่วนใกล้เคียงกัน

          (1) ประธานกรรมการกองทุน                ๑        คน
          (2) รองประธานกรรมการกองทุน            ๒        คน
          (3) เลขานุการ                                ๑        คน
          (4) ผู้ช่วยเลขานุการ                          -         คน
          (5) เหรัญญิก                                  ๑        คน
          (6) ผู้ช่วยเหรัญญิก                           ๑        คน
          (7) นายทะเบียนสมาชิก                      ๑        คน
          (8) ฝ่ายเงินกู้                                  ๒        คน
          (9) ฝ่ายตรวจสอบ                            ๓        คน
          (10) ฝ่ายประชาสัมพันธ์                     ๑        คน
ข้อ6. กรรมการกองทุนหมู่บ้านต้องมีคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้าม  ดังนี้
          (1) เป็นผู้ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านและอาศัยอยู่ในหมู่บ้านติดต่อกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าปี  ก่อนวันที่ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการกองทุนฯ
          (2) เป็นผู้บรรลุนิติภาวะโดยมีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
          (3) เป็นผู้ที่ไม่มีความประพฤติบกพร่องในศีลธรรมอันดี  มีความรับผิดชอบ  เสียสละ  มีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน  ไม่ติดการพนัน  ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด  และไม่มีประวัติเสียหายทางการเงิน
          (4) ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือบุคคลล้มละลาย
          (5) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่ความผิดลหุโทษ
          (6) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อทรัพย์สิน  เว้นแต่ความผิดทำให้เสียทรัพย์หรือบุกรุก
          (7) ไม่เคยถูก  ให้ออก  ปลดออก  หรือไล่ออกจากราชการองค์กรอิสระ  หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
          (8) ไม่เคยเป็นผู้ที่เคยพ้นจากตำแหน่งคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน  ตามข้อ 9 (4) (5)

ข้อ 7.  คณะกรรมการกองทุนฯ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
          (1) บริหารจัดการกองทุนฯ  รวมทั้งตรวจสอบ  ดูแล  และจัดสรร ดอกผล  รายได้  หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนฯ
          (2) ออกประกาศ  ระเบียบ  ข้อบังคับ  เกี่ยวกับการบริหารกองทุนฯ
          (3) จัดตั้งสำนักงานกองทุนฯ / ที่ทำการ
          (4) รับสมัครและจัดทำทะเบียนสมาชิก
          (5) จัดหาทุนจากแหล่งเงินทุน
          (6) พิจารณาเงินกู้ยืมให้แก่สมาชิก  หรือกองทุนหมู่บ้านอื่น
          (7) ทำนิติกรรมสัญญา  หรือดำเนินการเกี่ยวกับภาระผูกพันของกองทุนฯ
          (8) จัดทำบัญชีของกองทุนฯ
          (9) สำรวจและจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพในพื้นที่หมู่บ้าน  ตลอดจนข้อมูลและการดำเนินงานของกองทุนอื่น  ที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้าน
          (10)  พิจารณาดำเนินการใดๆ  เพื่อสวัสดิภาพ  สวัสดิการหรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นใดของสมาชิกและหมู่บ้าน
          (11) ดำเนินการอื่นใดเพื่อให้สอดรับ  และเกื้อกูลกับกองทุนอื่นๆ  ที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้าน
          (12) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานกองทุนฯ
          (13) รายงานผลการดำเนินงาน  รวมทั้งฐานะการเงินของกองทุนฯ  ให้อำเภอทราบ อย่างน้อยปีละ  ๑  ครั้งตลอดจนรายงานเรื่องดังกล่าว  ให้สมาชิกทราบ
          (14) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามประกาศระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งที่คณะกรรมการกำหนดหรือมอบหมายดำเนินการใดๆ ตาม (10) ให้ใช้จ่ายจากเงินรายได้ของกองทุนหมู่บ้าน
ข้อ 8. กรรมการกองทุนฯ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ  2  ปี  ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งตามวาระให้มีการคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งแทนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 5 และข้อ 6  ภายใน  30  วัน
          กรรมการฯ  ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับการคัดเลือกอีกได้  แต่จะดำรงตำแหน่งเป็น 2 วาระ ติดต่อกันมิได้  เว้นแต่ในกรณีที่กรรมการฯ  ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระได้รับมติจากที่ประชุมสมาชิกโดยมีคะแนนเสียง  3 ใน 4  รับรองให้เป็นกรรมการกองทุนฯ  ต่อและมีความประสงค์ที่จะปฏิบัติงานต่อไปให้มีสิทธิเป็นกรรมการกองทุนฯต่อไปตามวาระ                                                                                              
          ให้กองทุนฯจัดทำรายงานการประชุมและทำรายชื่อคณะกรรมการฯที่ได้รับการคัดเลือกเสนอ    ให้อำเภอทราบ
ข้อ 9. กรรมการกองทุนฯ  พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
          (1)  พ้นตามวาระ
          (2)  ตาย
          (3) ลาออก
          (4)  คณะกรรมการกองทุนฯ  มีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่า  2ใน 3  ของจำนวนกรรมการกองทุน
          (5)  ที่ประชุมสมาชิก  มีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินเกว่า  2 ใน 3  ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
          (6) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 7 (4)(5)(6)  และ(7)
          (7) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 6
          ในกรณีที่กรรมการกองทุนฯ  พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ  คณะกรรมการฯอาจแต่งตั้งถึงบุคคลจากสมาชิก  เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการแทนก็ได้และให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งแทน  อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ข้อ 10. ให้คณะกรรมการฯ  เลือกกรรมการด้วยกันเป็นประธานกรรมการและตำแหน่งอื่นๆ  ตามข้อ 5
ข้อ 11.  การประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ  ต้องมีกรรมการฯ ประชุมเกินกึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการกองทุนฯทั้งหมด  จึงจะเป็นองค์ประชุมได้ ประธานกรรมการกองทุนไม่มาประชุม  หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานกรรมการกองทุนฯ  ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก  กรรมการกองทุนฯคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน  ถ้าเสียงเท่ากันให้ประธานออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
          กรรมการกองทุนฯ ผู้ใดมีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องใด  ห้ามมิให้เข้าร่วมประชุมเรื่องนั้น


หมวดที่ 3
สมาชิกกองทุน
ข้อ 12. สมาชิก ประกอบด้วยบุคคลธรรมที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้นและมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบังคับกองทุนฯ  ดังนี้
          (1) เป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน บ้านกลางหมื่น....  หมู่ที่ ...๑.. ตำบล.....กลางหมื่น.... อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๖ เดือน
          (2) เป็นผู้อุปนิสัยอันดีงาม  มีความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ของกองทุนฯและสนใจเข้าร่วมในกิจกรรมของกองทุน
          (3) เป็นผู้ที่พร้อมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกองทุน
(4) เป็นผู้ที่คณะกรรมการกองทุนฯมีมติเห็นชอบให้เข้าเป็นสมาชิกกองทุน
(5) เป็นผู้ที่เสียสละอดทนและเห็นแก่ประโยชน์ของกองทุนเป็นสำคัญ
          (6) มีเงินฝากสัจจะและถือหุ้นอย่างน้อยหนึ่งหุ้น
          (7) เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ (มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือ บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส)
ข้อ 13. การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุน
(1) ยื่นคำขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนได้ที่สำนักงานกองทุน/ที่ทำการ
          (2) ยื่นคำขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนได้ปีละ  1  ครั้ง  โดยสามารถสมัครได้ทั้งในนามปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มหรือองค์กรชุมชน  ด้วยความสมัครใจ
(3) คณะกรรมการกองทุนฯ  ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะพิจารณารับ  หรือไม่รับบุคคลเข้าเป็นสมาชิกกองทุน
          (4) เมื่อคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณารับบุคคลเข้าเป็นสมาชิกกองทุนแล้วจะแจ้งให้บุคคลนั้นให้ชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า  รายละ ๑๐๐ บาท  และชำระเงินค่าหุ้นๆ  ละ ๑๐ บาท  แต่ไม่เกิน ๑ หุ้นภายใน ๗ วัน  นับจากวันที่ได้รับแจ้ง  โดยคณะกรรมการจะต้องออกใบสำคัญรับเงินให้แก่สมาชิกรายนั้นๆ แต่ถ้าสมาชิกรายใดลาออกไม่สามารถถอนเงินค่าสมัคร  ๑๐๐ บาทได้เพราะให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับคณะกรรมการในการดำเนินงานสำหรับหุ้น / สัจจะสามารถถอนได้
ข้อ 14.  การพ้นสภาพการเป็นสมาชิกกองทุนฯ  ดังนี้
(1) ตาย
(2) ลาออกและได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนฯ
(3) วิกลจริต  จิตฟั่นเฟือน  หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
(4) ที่ประชุมสมาชิกมีมติให้ออก  ด้วยคะแนนเสียง  2ใน3  ของจำนวนสมาชิก
          (5) จงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของกองทุนฯ  หรือแสดงตนเป็นปฏิปักษ์  หรือไม่ให้ความร่วมมือกับกองทุนและคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาให้ออก
(6) มีคุณสมบัติไม่ครบตามข้อ 13
ข้อ 15. ในการพ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกกองทุน  ตามข้อ 14  คณะกรรมการกองทุนฯ จะคืนเงินค่าหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดให้เท่านั้น
ข้อ 16. ผู้ที่พ้นสภาพการเป็นสมาชิกกองทุนฯตามข้อ 14  อาจยื่นคำขอเป็นสมาชิกใหม่ได้  ทั้งนี้ต้องเป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นสมาชิกติดต่อกันไม่น้อยกว่า  2  ปี  นับจากวันพ้นสภาพครั้งแรก
ข้อ 17. สมาชิกกองทุนฯสามารถชำระค่าหุ้นเพิ่มค่าหุ้นได้ปีละ  1  ครั้งในวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของกองทุนโดยชำระเป็นเงินสด

ข้อ 18. ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีสมาชิก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  ภายในกำหนดระยะเวลา 15 วัน  นับจากวันที่คณะกรรมการกองทุนฯ พ้นจากตำแหน่งตามวาระเพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานและรับรองกรรมการฯ  ที่ได้รับเลือกใหม่  โดยให้มีระเบียบวาระการประชุม  ดังนี้
          (1) ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
          (2) รับรองรายงานประชุมครั้งที่แล้ว
          (3) เรื่องเสนอเพื่อทราบแบะปฏิบัติ
          (4) เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
          (5) เรื่องอื่นๆ
ข้อ 19. คณะกรรมการกองทุนฯ อาจเรียกประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้เมื่อมีเหตุผลที่ต้องขอมติหรือขอความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิก
ข้อ 20. ในการประชุม  ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด ซึ่งจะเป็นองค์ประชุม
          สมาชิกจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาประชุมแทนตนก็ได้แต่ผู้รับมอบอำนาจนั้น จะรับมอบอำนาจเกินกว่า  1  รายมิได้
          เมื่อสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุมให้นัดประชุมอีกครั้งหนึ่งภายใน  15  วัน  นับแต่วันนัดประชุมครั้งแรก  ในการประชุมครั้งหลังถ้าสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่า  1 ใน 3  ของสมาชิกทั้งหมดให้ถือเป็นองค์ประชุม
ข้อ 21. สมาชิก  1  คนมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงชี้ขาด

หมวดที่ 4
เงินทุน
ข้อ 22.  แหล่งที่มาของเงินทุน  ดังนี้
(1) เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้
(2) เงินอุดหนุนจากคณะกรรมการกองทุนแห่งชาติ
(3) เงินที่สมาชิกนำมาลงหุ้น  หรือฝากไว้กับกองทุน
 (4) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค
(5) ดอกผล  รายได้  หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนฯ
หมวดที่ 5
การกู้ยืมเงินกองทุน
ข้อ 23. ประเภทการกู้ยืม  สมาชิกสามารถกู้ยืมเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายในกิจกรรม  ดังนั้น
          (1) เงินกู้สามัญ  ได้แก่เงินกู้เพื่อนำไปพัฒนาอาชีพสร้างงานสร้างรายได้  ไม่เกินรายละ 30,000  บาท
          (2) เงินกู้พิเศษ  ได้แก่เงินกู้เพื่อการลงทุนสร้างงานที่ต้องใช้เงินจำนวนมากเกินกว่า 30,000 บาท  แต่ไม่เกิน 75,000  บาท  ซึ่งต้องนำเข้าที่ประชุมสมาชิกพิจารณาวินิจฉัย
ข้อ 24. การอนุมัติเงินกู้ยืม  ให้สมาชิกที่ประสงค์จะขอกู้เงินจากกองทุนฯ  ต้องจัดทำคำขอกู้ให้โดยระบุวัตถุประสงค์ในการกู้อย่างชัดเจน  และยื่นคำขอกู้ต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อคณะกรรมการจะได้พิจารณาเงินกู้
ข้อ 25. คณะกรรมการกองทุนฯ  มีอำนาจให้การอนุมัติเงินกู้รายหนึ่งได้ดังนี้
          (1) เงินกู้สามัญ  อนุมัติรายหนึ่งไม่เกิน  30,000  บาท
          (2) เงินกู้พิเศษ  อนุมัติรายหนึ่ง เกิน 30,000  บาท     แต่ไม่เกิน  75,000  บาท กรรมการฯนำเข้าประชุมสมาชิกเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด 
ข้อ 27. ให้คณะกรรมการกองทุนฯ บันทึกความเห็นในแบบคำขอกู้ยืมเงิน  พร้อมทั้งส่งสำเนาแบบคำขอกู้ยืมเงิน  ตลอดจนเงื่อนไขและรายละเอียดในการอนุมัติเงินกู้  แจ้งผู้กู้และธนาคารรับทราบโดยเร็ว
ข้อ 28. ให้ผู้ขอกู้ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้แล้ว  เปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคาร  และแจ้งบัญชีออมทรัพย์ให้กรรมการกองทุนฯทราบโดยเร็ว  เพื่อธนาคารจะได้โอนเงินกู้เข้าบัญชีของผู้ขอกู้
ข้อ29. การเรียกหลักประกันเงินกู้
          (1) หลักประกันเงินกู้สามัญ  ให้ผู้ขอกู้นำสมาชิกกองทุนฯ ต่างครัวเรือนมาค้ำประกัน  2  ราย
          (2) หลักประกันเงินกู้พิเศษ  ให้ผู้ขอกู้นำสมาชิกกองทุนฯ ต่างครัวเรือนมาค้ำประกัน  2 ราย       หรือให้นำหลักทรัพย์มาค้ำประกัน เช่น  โฉนดที่ดิน  หรือ  นส. 3 ก.  ฯลฯ
ข้อ 30. การรับเงินกู้  ในกรณีที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติเงินกู้ตามคำขอแล้ว  ให้แจ้งธนาคารทราบโดยเร็ว  แล้วธนาคารจะเป็นผู้ทำหน้าที่โอนเงินกู้เข้าบัญชีผู้กู้
ข้อ 31. การชำระคืนเงินกู้  ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาตามความเหมาะสมแห่งสัญญาเงินกู้แต่ละราย  ทั้งนี้ผู้กู้ต้องชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย  ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา  ๑ ปี   นับแต่วันทำสัญญา
ข้อ 32. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท  บัญชีที่ 1  กำหนดดังนี้
          (1) เงินกู้สามัญ  อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ.........๖...........บาท / ปี
ข้อ 33. ค่าปรับในกรณีผิดสัญญาเงินกู้  ให้ผู้กู้เสียค่าปรับในอัตรา ร้อยละ ๑๕ บาท / เดือน
ข้อ 34. การชำระเงินกู้  ให้ผู้กู้ที่ประสงค์จะชำระเงินกู้  ติดต่อขอชำระเงินกู้กับกรรมการกองทุนฯ เพื่อตรวจสอบเงินต้นและดอกเบี้ยที่จะต้องชำระคืน

          ให้คณะกรรมการกองทุนฯ  จัดทำหนังสือแจ้งความประสงค์ชำระคืนให้กับผู้กู้เพื่อนำเงินกู้คืน นำฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ของสมาชิก  เพื่อธนาคารจะได้ถอนเงินคืนเข้าฝากในบัญชี  1



หมวดที่ 6
การเงินและการบัญชี
ข้อ 35. การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี  เมือสิ้นปีทางบัญชีของกองทุนฯ และได้ปิดบัญชีแล้ว หากกองทุนมีกำไรคณะกรรมการกองทุนฯ  จะนำกำไรสุทธิมาจัดสรร  ดังนี้
          (1) เงินสมทบกองทุน..๑๐..%
          (2) เงินประกันความเสี่ยง  ....๑0.. %
          (3) เงินตอบแทนคณะกรรมการกองทุน ...๒5... %
          (4) ทุนการศึกษา.....๑๐...%
          (5) เฉลี่ยคืนผู้กู้ ......-.....%
          (6) สาธารณประโยชน์....๑๐... %
          (7) เงินทุนสวัสดิการ.....๑๐...%
          (๘) ปันผลสมาชิก.....๒๐....%
          (๙) อื่นๆ.....๕...%
สำหรับเงินตาม (1)  และ (2)  ให้คงไว้ในบัญชีที่ 1

ข้อ 36. ให้คณะกรรมการกองทุนฯ จัดทำบัญชีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด  และจัดทำราย
การรับ จ่ายเงินกองทุนอย่างน้อยเดือนละ  1  ครั้ง   และแจ้งให้สมาชิกทราบ  รวมทั้งให้จัดทำสรุป  ผลการดำเนินงานประจำปี  รายงานต่อคำขออย่างน้อยปีละ  1  ครั้ง
ข้อ 37. บัญชีกองทุนหมู่บ้านที่ต้องดำเนินการประกอบด้วย
          (1) บัญชีเงินสด
          (2) บัญชีเงินฝากธนาคาร
          (3) ทะเบียนหุ้นสมาชิก
          (4) บัญชีคุมเงินกู้
          (5) บัญชีคุมทรัพย์สินและหนี้สิน
          (6) บัญชีเงินคงเหลือประจำวัน
          (7) บัญชีอื่นๆ
ข้อ 38.ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อตรวจสอบบัญชี หรือผู้ตรวจสอบบัญชี  จำนวน  ๑  คน                เพื่อทราบถึงความก้าวหน้า  ฐานะการเงินทุก  ๑๒  เดือน  และเมื่อสิ้นปีทางบัญชี  เพื่อจัดทำบัญชี                 กำไร -  ขาดทุน  และงบดุล ภายใน 120  วัน  นับจากวันสิ้นปีทางบัญชี  พร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่  ต่อสมาชิกและสาธารณชน  และรายงานผลอำเภอ/จังหวัด/สทบ. ตามกำหนด

หมวดที่ 7

บทเฉพาะกาล

ข้อ 39. ภายใน  1  ปีนับจากวันประกาศใช้ระเบียนนี้  ให้คณะกรรมการกองทุนฯ ประเมินผลการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับนี้  แล้วนำเสนอสมาชิกในการประชุมใหญ่ เพื่อปรับปรุงแก้ไข
ข้อ 40. ให้ประธานคณะกรรมการกองทุนฯเป็นผู้ลงนามประกาศใช้ตามระเบียบนี้


                                         ประกาศ   ณ    วันที่...๑..เดือน.....มกราคม.... พ.ศ.  ๒๕๕60


                                           ว่าที่ร้อยโท.......................................................
                             (ศิริศักดิ์  จุทาการ)
                                   ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านกลางหมื่น หมู่ที่ ๑
                                           ตำบลกลางหมื่น อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์


หมายเหตุ    ระเบียบฉบับนี้เป็นฉบับร่างซึ่งจัดทำขึ้นภายใต้  พรบ.ปี 47 และระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2551 เพื่อเป็นแนวทางให้กองทุนหมู่บ้าน/ชุมชน ปรับปรุง แก้ไข ระเบียบข้อบังคับ ของกองทุนแต่ละหมู่บ้าน ซึ่ง สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมโดยไม่ขัดกับ พรบ.ปี 47 และระเบียบคณะกรรมการกองทุนฯ ปี 51
 
         














วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ประกาศเทศบาลตำบลกลางหมื่นโครงการก่อสร้างอาคารเพื่อการเรียนรู้ชุมชนเทศบาลตำบลกลางหมื่น ด้วยวิธีการทางอีเล็กทรอนิกส์ (e-Auction)

   ประกาศเทศบาลตำบลกลางหมื่น
เรื่อง    ประกวดราคาจ้างโครงการก่อสร้างอาคารเพื่อการเรียนรู้ชุมชนเทศบาลตำบลกลางหมื่น
   ด้วยวิธีการทางอีเล็กทรอนิกส์ (e-Auction)
ด้วยเทศบาลตำบลกลางหมื่น  อำเภอเมือง  จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความประสงค์ประกวดราคาจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โครงการก่อสร้างอาคารเพื่อการเรียนรู้ชุมชนเทศบาลตำบลกลางหมื่น ขนาดกว้าง 15.50 เมตร ยาว 26.50 เมตร ณ ที่ทำการเทศบาลตำบลกลางหมื่น หมู่ที่ 3 อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแบบแปลนของเทศบาลตำบลกลางหมื่น พร้อมป้ายประชาสัมพันธ์โครงการตามแบบป้ายมาตรฐานของเทศบาลตำบล ราคากลางของงานก่อสร้างในการประกวดราคาครั้งนี้เป็นเงิน  2,749,300.- บาท (สองล้านเจ็ดแสนสี่หมื่นเก้าพันสามร้อยบาทถ้วน)
ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. เป็นนิติบุคคล ผู้มีอาชีพรับจ้างงานที่ประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอีเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวซึ่งมีผลงานก่อสร้างประเภทเดียวกันในวงเงินไม่น้อยกว่า 1,374,650.-บาท (-หนึ่งล้านสามแสนเจ็ดหมื่นสี่พันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน-)   
2. ไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการ  หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว
                   3. ไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทยเว้นแต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์ความคุ้มกันเช่นว่านั้น
                   4.  เป็นผู้ที่ผ่านการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการจ้างของเทศบาลตำบลกลางหมื่น
5.  ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น  ที่เข้าเสนอราคาให้แก่เทศบาลตำบลกลางหมื่น  ณ วันที่ประกาศประกวดราคาด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ในการประกวดราคาจ้างด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้
6.  นิติบุคคลที่เข้าเป็นคู่สัญญาต้องไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ไม่แสดงบัญชีรายรับรายจ่ายหรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสำคัญ
7.  นิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐซึ่งได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Govemment Procurement : e-GP) ต้องลงทะเบียนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลาง ที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
8.  คู่สัญญาต้องรับและจ่ายเงินผ่านบัญชีธนาคารเว้นแต่การจ่ายเงินแต่ละครั้งซึ่งมีมูลค่าไม่เกินสามหมื่นบาทคู่สัญญาอาจจ่ายเป็นเงินสดก็ได้

                    กำหนดดูสถานที่ก่อสร้างในวันที่  21  เดือน กรกฎาคม  พ.ศ. 2560  เวลา  11.00 น. ณ ที่การเทศบาลตำบลกลางหมื่น  โดยกำหนดให้ไปพบกับ  นายศิลปชัย   ไชโยราช ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองช่าง  

โหลดไฟล์ประกาศ ที่นี่  https://drive.google.com/drive/u/0/my-drive

วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เทศบาลตำบลกลางหมื่น อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้จัดกิจกรรม“โครงการจิตอาสาประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์พระราชทาน”

                 เทศบาลตำบลกลางหมื่น อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้จัดกิจกรรมโครงการจิตอาสาประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์พระราชทานเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ด้วยฝีมือการ ตลอดจนพสกนิกรทุกหมู่เหล่าเพื่อแสดงออกถึงความสามัคคี และการมีส่วนร่วมทั้งกำลังกาย กำลังความคิดและสติปัญญาด้วยจิตอาสาในการประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ พระราชทานเพื่อเป็นพระราชกุศลอุทิศถวายครั้งสุดท้าย 






                                                                                                                                   ศิริศักดิ์  จุทาการ
                                                                                                                                 03 กรกฎาคม 2560

เชิญทุกท่านทำบุญ ๙ วัด ในวันอาสาฬหบูชา






                                                                                           ศิริศักดิ์   จุทาการ
                                                                                           3 กรกฎาคม 2560