ประวัติความเป็นมา

     ประวัติความเป็นมาและลักษณะทั่วไปของพื้นที่เทศบาลตำบลกลางหมื่น

          ตามพงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์  ในตอนหนึ่งที่กล่าวถึง  บรรพบุรุษที่สืบตระกูลเชื่อสายต่อกัน
มาว่าในราวปี พ.. 2310 ตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เจ้าศิริบุญสาร เจ้าเมืองนครเวียงจันทร์
ได้ขึ้นครองอำนาจเป็นพระเจ้าแผ่นดินลาวได้เกิดวิวาดหมาดหมาง ภายในราชสำนักกับกลุ่มพระวอ
พระตา เขตกำแพงนครเจ้าผ้าขาวลาวเวียง  (บุโลหิตซึ่งเป็นบิดาของสนมเอกของเจ้าศิริบุญสาร)
          กลุ่มละวอ  พระตา  และเจ้าผ้าขาวลาวเวียง  จึงได้พาไพล่พล  ครอบครัวรวมทั้งบุตรสาว
ของเจ้าผ้าขาวลาวเวียงสนมเอกของเจ้าศิริบุญสารซึ่งกำลังตั้งครรภ์อยู่อพยพจากนครเวียงจันทร์มา
อยู่ที่บ้านหนองบัวลำภู  (ซึ่งเป็นที่ตั้งของ จ. หนองบัวลำภู  ในปัจจุบัน)    สร้างเมืองขึ้นใหม่
ชื่อว่า  นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน เมื่อเจ้าศิริบุญสารทราบข่าวจึงได้ยกทัพหลวงมาโจมตี  กลุ่มของ
พระวอ  พระตา  จึงยกไพล่พลครอบครัวหนีไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านดู  บ้านแกนนครปาศักดิ์  (ปัจจุบัน
คือสถานที่ตั้ง จ.อุบลราชธานีส่วนเจ้าผ้าขาวลาวเวียง  และบุตรสาวซึ่งตั้งครรภ์แก่ได้พาไพล่พลหนี การโจมตรีมาอยู่ที่บ้านผ้าขาวพรรณนา  (ปัจจุบันเป็น อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร)
          บุตรสาวของเจ้าผ้าขาวลาวเวียง ซึ่งครรภ์กับเจ้าศิริบุญสารได้กำเนิดบุตรชายที่นั่น  ให้ชื่อว่า
โสมพระมิตร”  เจ้าศิริบุญสารพอทราบข่าวว่าได้กำเนิดพระราชบุตรชาย  จึงได้ยกทัพติดตามที่บ้าน
หนองบัวลำภูอีกเจ้าผ้าขาวลาวเวียง  ได้ทราบข่าวก็กลัวอันตรายจะเกิดขึ้นจึงได้อพยพ  ไพล่พลทั้ง
ครอบครัวรวมทั้งท้าวโสมพระมิตรข้ามเทือกเขาผ่านป่าดงพงไพรมาด้วยความยากลำบาก  โหยหิว  หนุ่มบ้างแก่บ้างไพล่พลเกิดเจ็บป่วยล้มตายเป็นจำนวนมาก  นับหลายพันคน เดินทาง  มาถึงดงป่าใหญ่
แห่งหนึ่งเหมาะสำหรับการหลบซ่อนข้าศึกและอุดมสมบูรณ์  จึงได้พักไพล่พลและสำรวจผู้คนที่ยังมี
ชีวิตอยู่ นับได้จำนวน ห้าพันธ์คน (5000 คน)       
           เจ้าผ้าขาวลาวเวียงจึงพิจารณาเห็นว่าทำเลดงป่าใหญ่แห่งนี้เหมาะสม  จึงได้ตั้งรกรากถิ่นฐาน
อยู่ที่นี้และตั้งชื่อบ้านตามจำนวนไพล่พลที่ลอดชีวิตคือ ห้าพันธ์คน (ครึ่งหมื่น) จึงได้ชื่อบ้านว่าบ้านกลางหมื่น”   และเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจแก่ไพล่พล 
เจ้าผ้าขาวลาวเวียง  ซึ่งขณะนั้นชราภาพมากแล้ว จนต้องใช้ไม้เท้าค้ำยันเวลาที่จะเดินเหินไปมา
จนชาวบ้านเรียกว่าเจ้าปู่สามขา”  ติดปากมาจนถึงปัจจุบัน จึงได้สร้างพระเจ้าใหญ่ขึ้นในปีนั้น  โดยใช้ช่างหลวงที่ติดตามมาจากนครเวียงจันทร์ สร้างพระพุทธรูปเป็นพระประธานขนาดใหญ่
และสร้างพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากพระประธานองค์แรก  เพราะเป็นสร้างโดยช่าง
ชาวไทย ศิลปะแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา  สร้างพระพุทธรูปสององค์ตามแนวความเชื่อว่าจะปกปักษ์รักษา
บ้านเมือง ให้ปลอดภัยจากข้าศึกได้

             ต่อมาในราวปี  .. 2336  ท้าวโสมพระมิตรได้ฝึกไพล่พลจนแข็งแกร่งพาไพล่พลนักรบมา
ต่อสู้กับ  บักป้าง  บักม้าง  (หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าปู่แฮ่  ปู่หาญ  มาจนถึงปัจจุบันนี้ซึ่งเป็นคนเชื้อสาย
ลาวจากนครเวียงจันทร์ที่มาตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ก่อนที่  บ้านแก่งส้มโฮงดงสงเปลือยริมลำน้ำปาวจนได้รับชัยชนะและได้ยกตนเองขึ้นเป็นเจ้าเมือง จากนั้นเจ้าโสมพระมิตรได้ลงไปเฝ้าธุลีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ราชกาลที่แห่งกรุงสยามจึงโปลดเกล้าแต่งตั้งเป็น  “พระยาชัยสุนทร”   ปกครองเมืองแก่งส้มโฮงสงเปลือย แล้วขนานนามเมืองให้ใหม่ว่า  “กาฬสินธุ์”  ใน ปี  .. 2345
          จากพงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์และจากการบอกเล่าต่อ ๆ กันมาของผู้สูงอายุในหมู่บ้านกลางหมื่น  ทำให้สันนิษฐานได้ว่าพระพุทธรูปหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า  “พระเจ้าใหญ่”  บ้านกลางหมื่นคงสร้างขึ้น
ใกล้เคียงการอพยพมาอยู่บ้านกลางหมื่น  คือในราว ๆ ปี 2310 - 2336  ก่อนการก่อตั้งเมืองกาฬสินธุ์ 
             สำนักงานเทศบาลตำบลกลางหมื่น         ก่อตั้งขึ้นตามมาตรา    40    และมาตรา  41  แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  .. 2537  บัญญัติให้จัดตั้งองค์การ
บริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล  ทั้งนี้ 
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยซึ่งประกาศราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่  23  กุมภาพันธ์  .. 2539  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  12  หมู่บ้าน
            หมู่ที่ 1                   บ้านกลางหมื่น                    หมู่ที่ 2            บ้านหนองกลางโคก
  หมู่ที่ 3                   บ้านหนองหัวช้าง                  หมู่ที่ 4            บ้านหัวนาคำ
  หมู่ที่ 5                   บ้านห้วยตูมเหนือ                  หมู่ที่ 6            บ้านห้วยตูมใต้
  หมู่ที่ 7                   บ้านคำบอน                        หมู่ที่ 8            บ้านน้ำบุ้น
  หมู่ที่ 9                   บ้านเหล่ากลาง                     หมู่ที่ 10          บ้านโคกอุดม
  หมู่ที่ 11                 บ้านวังแสนคำ                      หมู่ที่ 12          บ้านท่าสำราญ

ขนาดและที่ตั้ง
          เทศบาลตำบลกลางหมื่น ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะทางห่างจากอำเภอเมือง ประมาณ 24  .. และสำนักงานเทศบาลตำบลกลางหมื่น ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 บ้านหนองหัวช้าง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
  เทศบาลตำบลกลางหมื่น มีเนื้อที่ประมาณ 26,150 ไร่  และมีพื้นที่ติดต่อกับองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นดั้งนี้
ทิศเหนือ          ติดกับ ตำบลยอดแกง         .นามน                 .กาฬสินธุ์
ทิศใต้              ติดกับ ตำบลม่วงนา           .ดอนจาน              . กาฬสินธุ์
ทิศตะวันออก     ติดกับ ตำบลดงพยุง          .ดอนจาน              . กาฬสินธุ์
ทิศตะวันตก      ติดกับ ตำบลนาจารย์          .เมือง                  . กาฬสินธุ์

วิสัยทัศน์ขององค์กร

                   .......มุ่งให้เด่นเป็นตำนาน
                             คนกล่าวขานแหล่งท่องเที่ยว
                                      ชุมชนร่วมเป็นหนึ่งเดียว                                                                                                                        รักกลมเกลียวเศรษฐกิจพอเพียง.....

มุ่งให้เด่นเป็นตำนาน    เนื่องจากเทศบาลตำบลกลางหมื่นได้ก่อตั้งมาราวปี พ..2310 ตรงกับ สมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย ซึ่งก่อตั้งก่อนจังหวัดกาฬสินธุ์  
คนกล่าวขานแหล่งท่องเที่ยว    เนื่องจากเทศบาลตำบลกลางหมื่นมีโบราณสถาน และมี อ่างเก็บน้ำที่สวยงาม
ชุมชนร่วมเป็นหนึ่งเดียว   เนื่องจากเทศบาลตำบลกลางหมื่นเป็นบ้านพี่เมืองน้องมายาวนาน
รักกลมเกลียวเศรษฐกิจพอเพียง  เนื่องจากเทศบาลตำบลกลางหมื่นพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง  บริเวณทั่วไปเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ประชากรส่วนมากประกอบอาชีพทำนา ทำไร่มันสำปะหลังและไร่อ้อย จึงยึดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ทรัพยากร
             เทศบาลตำบลกลางหมื่นส่งเสริมให้ประชากรในท้องถิ่นให้มองทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีคุณค่า เช่น อ่างเก็บน้ำห้วยแกง ป่าโคกฮ่าง ป่ายางใหญ่  เป็นต้น สามารถพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้
                                               
แหล่งท่องเที่ยว
   เนื่องจากเทศบาลตำบลกลางหมื่น เป็นจุดเชื่อมระหว่างอำเภอดอนจานกับ  อำเภอสหัสขันธ์  จึงมีแนวนโยบายที่จะพัฒนาเป็นถนนท่องเที่ยง ซึ่งนักท่องเที่ยวจะเดินทางมาจากอำเภอดอนจาน ผ่านเทศบาลตำบลกลางหมื่น แล้วแวะกราบนมัสการ  “พระเจ้าใหญ่”   ณ วัดปฐมปฏิมากร และวัดป่าปฐมปฏิมากร หมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวตำบลกลางหมื่นมายาวนาน ตั้งแต่ ประมาณ ปี พ.. 2310 แล้วเดินทางต่อเพื่อกราบนมัสการพระพุทธไสยาสน์ภูปอและเดินทางต่อไป ยังอำเภอสหัสขันธ์เพื่อกราบนมัสการพระ ณ วัดสักวัน และเดินชมพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ต่อไป

          
ศิริศักดิ์    จุทาการ

E-mail :   sak80@windowlive.com    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น